รู้หรือไม่? COVID-19 กับ ไข้หวัดใหญ่ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มเดียวกัน!!

รู้หรือไม่? COVID-19 กับ ไข้หวัดใหญ่ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มเดียวกัน!! การแยกระหว่างโรคไข้หวัดใหญ่กับ COVID–19 อาจจะทำได้ยาก หากดูเพียงอาการภายนอก เพราะอาการของโรคทั้งสอง มีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรค COVID-19 และ ไข้หวัดใหญ่ มาจากภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ปอดบวม ซึ่งอาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงมีภาวะแทรกซ้อน และเสียชีวิตได้มากกว่ากลุ่มอื่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนที่ควรฉีดเป็นประจำทุกปี ฉีดได้ตั้งแต่เด็ก อายุ 6 เดือนขึ้นไป และเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไข้หวัดใหญ่
COVID–19 เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มโคโรนา ที่ทำให้มีไข้และอาการระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก บางรายอาจมีอาการปอดอักเสบรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้ มากไปกว่านั้นผู้ป่วย 1 คน สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ 2-4 คน มีรายงานการเสียชีวิต จากโรคประมาณ ร้อยละ 4.6
ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจคล้ายคลึงกับโรค COVID–19 ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่อาจมีบางรายที่มีอาการรุนแรง
สาเหตุการเสียชีวิตของทั้งสองโรคนี้ มากจากภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ปอดบวม ซึ่งอาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง มีภาวะแทรกซ้อน และเสียชีวิตได้มากกว่ากลุ่มอื่น ได้แก่ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ดังนั้นองค์การอนามัยโลกภูมิภาคพื้นยุโรป จึงแนะนำและให้ความสำคัญกับการให้วัคซีนป้องกัน โรคไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococcal) ในประชากรที่เป็นกลุ่มเสียงในช่วงการระบาดของโรค COVID -19

COVID–19 กับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
การแยกระหว่างโรคไข้หวัดใหญ่ กับ COVID–19 อาจจะทำได้ยากหากดูเพียงอาการภายนอก เพราะอาการของโรคทั้งสอง มีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ
ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่หรือ COVID–19 ก็มีโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่นเดียวกันคือ ปอดบวม ดังนั้น หากเราไม่ได้ป้องกันตัวเองก็อาจจะโชคร้าย เป็นไข้หวัดใหญ่ร่วมกับ COVID-19 ได้ และการติดเชื้อสองตัวพร้อมกัน อาจส่งผลทำให้การรักษานั้น ยุ่งยากมากขึ้น
ในประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นต้น หากเป็นโรคร่วม อาจจะส่งผลให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น
ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค COVID–19 ซึ่งยังคงอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย ส่วนวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่นั้น มีใช้มายาวนานแล้ว
องค์การอนามัยโลก แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 แม้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ จะไม่ได้ป้องกัน COVID–19 แต่ก็ยังคงแนะนำให้ฉีดเป็นประจำทุกปี เนื่องจากมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ทุกปี
ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในช่วงที่มีการระบาดของโรค COVID–19 ปลอดภัยหรือไม่?
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เป็นวัคซีนที่ควรฉีดเป็นประจำทุกปี ฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป และเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไข้หวัดใหญ่ และ การได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่เกี่ยวข้องและไม่กระทบกับการตรวจพบเชื้อไวรัสทางเดินหายใจอื่น และไม่ได้เพิ่มโอกาสที่จะทำให้ติดเชื้อ COVID-19 รวมถึงการติดเชื้อไวรัสตัวอื่น
อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
- อาจจะมีอาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีไข้อ่อน ๆ ได้บ้างแต่จะหายไปเอง ภายในเวลา 1-2 วัน
- จะไม่พบ อาการไอ คัดจมูก เจ็บคอแบบรุนแรง หลังฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
- ควรปรึกษาแพทย์ หากพบอาการรุนแรง หรือไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน
ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่แล้ว หากมีการติดเชื้อ COIVD- 19 ภายหลังร่างกายจะสามารถสร้างภูมิต่อ COVID -19 ได้ตามปกติหรือไม่?
การได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่เกี่ยวข้องและไม่กระทบกันการตรวจพบเชื้อไวรัสทางเดินหายใจอื่น และไม่ได้เพิ่มโอกาส ที่จะทำให้ติดเชื้อ COVID -19 รวมถึงติดเชื้อไวรัสตัวอื่น หลังฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ แล้วร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อไข้หวัดใหญ่ หากมีการติดเชื้อ COVID-19 ภายหลัง ร่างกายก็สามารถที่จะสร้างภูมิที่เฉพาะเจาะจงต่อเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ภายหลัง
โรคระบาดอื่นๆ อาจกลับมาถ้าไม่ป้องกัน
นอกจากโรค COVID-19 แล้ว หากไม่ฉีดวัคซีน หรือเลื่อนการฉีดวัคซีนในโรคที่ป้องกันได้ ด้วยวัคซีนอาจก่อให้เกิดโรคระบาดอื่น ๆ ตามมาได้
การเลื่อนการฉีดวัคซีน หรือสร้างภูมิคุ้มกันของโรคต่าง ๆ แม้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ อาจจะส่งผลกระทบ ในการเพิ่มความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรคอื่น ๆ ที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน (Vaccine Preventable Disease) ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตจากโรคที่ป้องกันได้
อ่านจบกันไปแล้ว จำกันได้รึป่าวครับ ถ้าจำไม่ได้เรามีเทคนิคช่วยจำให้คุณได้ด้วยกับ 6 เทคนิคช่วยเรื่องความจำ
อ่านบทความ ที่มีแต่ความรู้รอบตัว ได้ที่ : มะเร็งปอด โรคร้ายที่ใกล้ตัวคุณ